Step การเลือกน้ำมันเครื่องให้เหมาะกับรถของคุณ

แชร์บทความนี้ให้เพื่อน

🚩Step 1 เลือกประเภทน้ำมันเครื่อง

น้ำมันเครื่องหลักๆแล้วจะมี 2 ประเภท นั่นคือ เบนซิน และ ดีเซล ซึ่งห้ามเติมผิดประเภทเด็ดขาด เพราะมันจะส่งผลทำให้เครื่องยนต์เสียหายได้

วิธีสังเกตง่ายๆ ว่าแบบไหนคือน้ำมันเครื่องเบนซินหรือดีเซล

🔍น้ำมันเบนซิน โดยทั่วไปจะระบุที่ฉลากไว้ว่า “ Gasoline ”
ซึ่งน้ำมันเครื่อง Amone นอกจะใช้กับเครื่องยนต์เบนซินแล้ว ก็ยังสามารถใช้กับเครื่องยนต์ที่เป็นพลังงานอื่นๆได้อีกคือ Hybrid, E10, E20, E85, CNG และ LPG

🔍น้ำมันดีเซล โดยทั่วไปจะระบุที่ฉลากไว้ว่า “ Diesel ”

🚩Step 2 เลือกชนิดของน้ำมันเครื่อง

น้ำมันเครื่องถูกแบ่งเป็น 3 ชนิด ได้แก่

🧬น้ำมันเครื่องสังเคราะห์แท้ 100% (FULLY SYNTHETIC)
เป็นกลุ่มน้ำมันเครื่องที่ถูกคิดค้นมาเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการทำงาน และการปกป้องเครื่องยนต์รวมถึงช่วยประหยัดน้ำมันเชื้อเพลิงของรถยนต์อย่างแท้จริง ระยะเวลาการใช้งานยาวนานขึ้น เพราะมีอัตราการระเหยที่ต่ำ และจุดเด่นก็คือทำให้เครื่องยนต์ทำงานได้เหมือนใหม่ทุกสภาพการขับขี่ใช้งาน ป้องกันการสึกหรอในชิ้นส่วนต่างๆของเครื่องยนต์ โดยมีระยะแนะนำการใช้งานสูงที่สุด อยู่ที่ประมาณ 10,000 – 12,000 กิโลเมตร

🧬น้ำมันเครื่องกึ่งสังเคราะห์ (SYNTHETIC BLENDED)
ผลิตจากการนำน้ำมันแร่มาผสมกับน้ำมันหล่อลื่นสังเคราะห์ เพื่อเสริมคุณสมบัติให้ดีขึ้นกว่าน้ำมันเครื่องธรรมดา โดยมีระยะแนะนำการใช้งานที่สูงขึ้น อยู่ที่ประมาณ 7,000 – 10,000 กิโลเมตร

🧬น้ำมันเครื่องเกรดธรรมดาคุณภาพสูง (MULTIGRADE BLENDED)
ผลิตจากน้ำมันหล่อลื่นพื้นฐานที่ผ่านกระบวนการกลั่นน้ำมันดิบโดยตรง ระยะแนะนำการใช้งานประมาณ 5,000-7,000 กิโลเมตร

🚩Step3 เลือกความหนืดน้ำมันเครื่อง

ความหนืดของน้ำมันเครื่อง คือ ระดับความข้นของน้ำมันเครื่อง ซึ่งหากน้ำมันเครื่องข้นหรือหนืดเกินไป จะไม่สามารถไหลเวียนและหล่อลื่นเครื่องยนต์ได้ดี และหากมีความข้นหรือหนืดน้อย (เหลวมากไป) จะไม่สามารถให้การปกป้องชิ้นส่วนเครื่องยนต์ได้ สมาคมวิศวกรรมยานยนต์ของอเมริกา (The Society of Automotive Engineer = SAE) เป็นหน่วยงานที่กำหนดมาตรฐานความหนืดของน้ำมันเครื่องยนต์ โดยแบ่งเป็น

🔴เกรดเดี่ยว เช่น SAE 30, SAE 40, SAE 50

🔵เกรดรวม เช่น SAE 5W-30, 10W-40, 15W-50

น้ำมันเครื่องเกรดรวมจะมีคุณภาพดีกว่า ราคาแพงกว่า อายุการใช้งานยาวนานกว่าน้ำมันเครื่องเกรดเดี่ยว ส่วนความหนืด คือความข้นใสของน้ำมันเครื่อง เบอร์น้อยจะใสกว่าเบอร์มาก เช่น เกรดเดี่ยว SAE 30 จะใสกว่า SAE 50 หรือเกรดรวม 10W-40 จะใสกว่า 15W-50 โดยค่าความหนืดให้ดูเลขท้ายเป็นหลัก

🔢ตัวเลขที่อยู่หน้า “W” คือค่าความหนืดของน้ำมันเครื่องในสภาวะอุณหภูมิที่ต่ำหรือขณะที่เครื่องยนต์เย็น ยิ่งตัวเลขน้อยจะแสดงถึงค่าความหนืดที่ต่ำ ทำให้สามารถหล่อลื่นเครื่องยนต์ขณะเย็นได้ดี

🔢ตัวเลขหลัง “W” คือค่าความหนืดของน้ำมันเครื่องในสภาวะอุณหภูมิที่สูงหรือขณะที่เครื่องยนต์กำลังทำงาน ยิ่งตัวเลขสูงจะแสดงถึงค่าความหนืดที่สูง ทำให้สามารถหล่อลื่นและปกป้องเครื่องยนต์ขณะทำงานได้ดี เช่น 30, 40, 50 ,60 โดยจะวัดที่อุณหภูมิ 100องศาเซลเซียส

ℹ️ แต่สำหรับการใช้งานในบ้านเราตัวเลขหน้า “W” ไม่ต้องดูก็ได้ ให้เน้นดูตัวหลังเป็นหลัก

ℹ️ เราสามารถดูเบอร์ความหนืดได้จากคู่มือที่ติดมากับรถยนต์จะมีบอกครับว่ารถของคุณควรใช้ความหนืดที่เท่าไหร่ โดยรถยนต์แต่ละประเภทจะใช้ระดับความหนืด ดังนี้ครับ….

🚗 รถยนต์ที่ยังใหม่
มีเลขกิโลเมตรหรือเลขไมล์ไม่เกิน 200,000 กิโลเมตร ควรเลือกน้ำมันเครื่องที่มีค่าความหนืดต่ำ เช่น 30 เป็นต้น

🚗 รถยนต์ที่ผ่านการใช้งานมานาน
มีเลขกิโลเมตรหรือเลขไมล์ 200,000 กิโลเมตรขึ้นไป ควรเลือกน้ำมันเครื่องที่มีค่าความหนืดสูง เช่น 40 หรือ 50 เป็นต้น

🚩Step 4 เลือกค่ามาตรฐานของน้ำมันเครื่อง

🔍มาตรฐาน API (American Petroleum Institute) เป็นมาตรฐานที่ได้รับรองจากสถาบันน้ำมันของอเมริกา หรือ API (American Petroleum Institute) ตั้งขึ้นมาเมื่อปี 1919 ทำหน้าที่หลักๆคือการพัฒนาความปลอดภัยในการใช้งานและการผลิตของน้ำมัน และก๊าสธรรมชาติ

🔍API จะออกใบอนุญาติและใบประกาศ “API’s Engine Oil Licensing and Certification System (EOLCS)” ให้กับน้ำมันที่สามารถใช้กับเครื่องยนต์น้ำมันเบนซินและดีเซล โดยผ่านการทดสอบตามมาตรฐานที่ตั้งไว้ ที่สำคัญ API จะบอกสเปคน้ำมันเครื่องที่เหมาะกับเครื่องยนต์แต่ละรุ่นด้วย โดยผ่านสัญลักษณ์ตัวอักษร “S” และ “C” เพื่อให้ผู้บริโภคเลือกซื้อได้ถูกต้องกับสเปคที่รถแต่ละรุ่นต้องการ

✅สัญลักษณ์ “S” (Service Stations Classifications) จะเหมาะกับเครื่องยนต์ “เบนซิน” ตัวอย่างบนฉลากคือ API SH, API SJ, หรือ API SP เป็นต้น โดย “SP” คือมาตรฐานใหม่ที่ออกมาเมื่อปี 2020 เพื่อรองรับการใช้งานกับรถรุ่นใหม่ๆ ที่ออกแบบให้พัฒนาขึ้นในเรื่องการลดมลพิษ การปกป่อง turbocharger และช่วยให้เครื่องยนต์ทำงานได้กับเชื้อเพลงที่มี Ethanol ผสมเท่า E85 ซึ่งน้ำมันมาตรฐานใหม่นี้สามารถใช้งานได้กับรถรุ่นเก่าๆได้หมด

✅สัญลักษณ์ “C” (Commercial Classifi-cations) จะเหมาะกับเครื่องยนต์ “ดีเซล” ตัวอย่างบนฉลากคือ API CH-4, API CI-4, API CJ-4, หรือ API CK-4 เป็นต้น มาตรฐาน CK-4 จะเหนือกว่า CJ-4, CI-4, CI-4 PLUS, CI-4, และ CH-4 จึงสามารถใช้แทนมาตรฐานเหล่านี้ได้เลยแต่ต้องดูน้ำมันเชื้อเพลงที่ใช้ให้มีค่าซัลเฟอร์ที่ได้มาตรฐานด้วย

🚩Step 5 เลือกยี่ห้อน้ำมันเครื่อง

ควรเลือกน้ำมันเครื่องที่คุณภาพสูงและได้รับมาตรฐาน เพื่อการใช้งานที่มีประสิทธิภาพสูงสุด เช่นเดียวกับน้ำมันเครื่อง Amone เพราะเราพยายามพัฒนาสูตรน้ำมันเครื่องตลอดเวลาเพื่อให้ได้มาตรฐานสูงสุดและคุณภาพที่ดีที่สุด การันตีความเชื่อมั่นจากผู้ผลิตพลังงานด้านเชื้อเพลิงมาตรฐานระดับโลก

✅มาตรฐานการผลิต ISO 14001, ISO 9001, ISO 17025 and IATF16949 เรามีประเภทน้ำมันให้เลือกซื้อตามเกรดคุณภาพ และมีวางจำหน่ายที่ศูนย์บริการมาตรฐานทั่วประเทศ

หรือสนใจเป็นตัวแทนจำหน่าย

👉 เพจ Amone Lubricants Thailand (Inbox)

👉 https://www.facebook.com/amonelubricants

👉 Line : @amoneofficial